A trusted partner for AI&Robotics solutions driven by innovations at scale

Category News

Drone Vidya ร่วมประชุมแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบอากาศยานไร้คนขับ กับ สทป.

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2565 โดรนวิทยา (Drone Vidya) หนึ่งในหน่วยธุรกิจย่อยของบริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) ร่วมกับ สทป. ประชุมแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบอากาศยานไร้คนขับ ณ ห้องประชุมราชเสนีพิทักษ์ ชั้น 10 สทป. พล.อ.ชูชาติ บัวขาว ผอ.สทป. เป็นประธานการประชุมแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบอากาศยานไร้คนขับ และ ดร.เมธวิน กิติคุณ ผู้ร่วมก่อตั้งโดรนวิทยา พร้อมคณะ เข้าร่วมประชุมฯ การประชุมในครั้งนี้เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้วยการสนับสนุนกิจกรรมวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ และการฝึกอบรมนักบินอากาศยานไร้คนขับ ตลอดจนการซ่อมบำรุงอากาศยานไร้คนขับแบบครบวงจร เพื่อรองรับความต้องการของอุตสาหกรรมอากาศยานไร้คนขับที่จะเข้าสู่เชิงพาณิชย์ต่อไปในอนาคต

Drone Vidya ร่วมแบ่งปันความรู้ทางด้านอากาศยานไร้คนขับในงานสัมมนาวิชาการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยภาคตะวันออก ประจำปี 2565

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565 ดร.เมธวิน กิติคุณและ ดร.เชน คริสโตเฟอร์ อาชิเค็ทท์  Co-founder จาก Drone Vidya ร่วมให้ความรู้ภายใต้หัวข้อ “อากาศยานไร้คนขับ กับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย (Drone For Safety)” ในงานสัมมนาวิชาการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยภาคตะวันออก ประจำปี 2565 ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน(องค์การมหาชน) หรือ สสปท. (กระทรวงแรงงาน) ณ โรงแรมนิกโก้ อมตะ ซิตี้ จังหวัดชลบุรี ภายใต้ธีมงาน “มุ่งสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะที่ปลอดภัยและสังคมคาร์บอนต่ำ”  เพื่อผลักดันสู่ความเป็น Safety Smart Low Carbon…

วรุณา ร่วมมือสตาร์ทอัพ Easy Rice ใช้ดีพเทคยกระดับข้าวไทย เพิ่มมาตรฐานเกษตรครบวงจร แข่งขันได้ในตลาดโลก

วรุณา (VARUNA) บริษัทในเครือ เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี ผู้นำการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาคการเกษตรของประเทศไทย มุ่งเดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไทยต่อเนื่อง ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับอีซีไรช์ (Easy Rice) ใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมข้าวไทยให้ได้มาตรฐาน สร้างรายได้ทั้งระบบด้วยการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ให้กับ “ข้าวไทย” ให้เกษตรไทยแข็งแกร่งและยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำอย่างครบวงจร สอดคล้องกับแนวคิด Agri-Tech ของทั้งสองบริษัทที่จะช่วยผลักดันให้ภาคการเกษตรของไทยเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ และตั้งเป้าหมายในการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรของประเทศไทย นางสาวพณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์ ผู้บริหารด้านธุรกิจและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า วรุณามีจุดมุ่งหมายในการยกระดับคุณภาพเกษตรกรไทย โดยร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจในวงการเกษตรกรรม เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมเกษตรไทยมาโดยตลอด ล่าสุดกับความพร้อมพัฒนาข้าวไทยให้แข็งแกร่ง เดินหน้าจับมือพันธมิตรกับอีซีไรช์ (Easy Rice) ซึ่งมีแนวคิดและมีความมุ่งมั่นในการยกระดับอุตสาหกรรมข้าวไทย ซึ่งเป็นอาหารหลักของประชากรโลก ด้วยการประยุกต์กับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) รวมไปถึงรวบรวมข้อมูลกระบวนการผลิต…

CARIVA ผนึกความร่วมมือกับศิริราช นำความเชี่ยวชาญด้าน HealthTech และ AI ช่วยเติมเต็มศักยภาพให้กับคนรุ่นใหม่ ผ่านกิจกรรม Siriraj Hackathon 2022

บริษัท แคริว่า (CARIVA) ประเทศไทย จำกัด ผู้นำเทคโนโลยีโครงข่ายข้อมูลสุขภาพ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ สโมสรนักศึกษาแพทย์ศิริราช เปิดตัวกิจกรรม Siriraj Hackathon โดยนำความรู้และความเชี่ยวชาญด้าน HealthTech, AI และความรู้ด้านสุขภาพอื่น ๆ สร้างความร่วมมือกับ Siriraj Medical School ตลอดจนถึงการเป็น Mentor ให้กับเหล่าผู้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว เพื่อพัฒนาศักยภาพ นักศึกษาและนักเรียนสานต่อเส้นทางการเรียนรู้ทางการแพทย์อันไร้ที่สิ้นสุดให้ก้าวต่อไป นายณรงค์ชัย ลิมป์ปิยาภิรมย์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท แคริว่า (CARIVA) ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “สำหรับโครงการ Siriraj Hackathon คือโครงการที่ทางคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้จัดขึ้น เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาแพทย์…

ภาพบรรยากาศงาน Modernization of Agriculture: Tech and City networking hybrid event by Global Startup Hub BKK

นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากกับงาน Modernization of Agriculture: Tech and City networking hybrid event by Global Startup Hub BKK เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ณ True Digital Park  ซึ่งคุณพณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์ Co-Founder, Varuna ได้รับเกียรติในการเป็นวิทยากรร่วมกับผู้บริหารจาก Ricult Thailand และ Easy Rice Digital Technology ในงานมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในประเด็นการทำเกษตรกรรมแบบใหม่ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับอุตสาหกรรมสำคัญ อย่าง Food Tech…

ปตท. – วิทยุการบินแห่งประเทศไทย – ARV จับมือพัฒนาแพลตฟอร์มควบคุมและระบบบริหารจัดการจราจรทางอากาศสำหรับอากาศยานไร้คนขับในวังจันทร์วัลเลย์ เสริมแกร่งอุตสาหกรรม New S-Curve ไทย

วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 – นายชาญศักดิ์ ชื่นชม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่วิศวกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (กลาง) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการนำร่องด้านการจัดการจราจรทางอากาศสำหรับอากาศยานไร้คนขับ ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ ระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) และ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) โดยมี นายสุรชัย เหล่าพูลสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการโครงการนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก บริษัท…

งานสัมมนา GTC 2022

เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา SKYLLER Solutions ได้เป็นส่วนหนึ่งของงานสัมนา GTC 2022: 5th GIS Software Technology Conference ณ โรงแรม Siam@Siam Design Hotel Bangkok โดยภายในงานได้มีการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมใหม่ๆ และแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ในแง่มุมต่างๆ ซึ่งในโอกาสนี้ ดร.ศิวัตม์ สายบัว CEO และ Co-Founder ของ SKYLLER Solutions เองก็ได้ร่วมแชร์องค์ความรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GIS เช่นกัน โดยมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในอนาคต นวัตกรรมเด่นๆ และเทคโนโลยีที่เป็นไฮไลต์น่าจับตามอง…

โดรนสัญชาติไทย ไม่แพ้ใครในโลก

โดรนสัญชาติไทย ไม่แพ้ใครในโลก หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าคนไทยสามารถสร้างโดรนที่บินได้แบบไร้คนขับ เพื่อปฏิบัติภารกิจสุดท้าทาย กับโจทย์สุดหิน บินเหนือแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเลได้ไม่ต้องอาศัยคนบังคับ Techhub Inspire พาไปคุยกับ “ภาคภูมิเกรียงโกมล” Robotic Team Lead จาก AI and Robotics Ventures หรือ ARV สตาร์ตอัพไทยที่ไปไกลเรื่องระบบอัตโนมัติ กับความฝันที่จะไปไกลถึงระดับโลก : เริ่มต้นจาก Passion  ภาคภูมิเติบโตมากับการ์ตูนในยุค 90s ที่สร้างแรงบันดาลใจจากหุ่นยนต์ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์ได้แบบเดียวกับโดเรม่อนที่คอยช่วยเหลือโนบิตะ ความฝันในวัยเด็ก นำพาเขาก้าวเข้าสู่โลกของหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยเริ่มจากการเขียนโปรแกรมเชื่อมระหว่างยูสเซอร์กับฮาร์ดแวร์เข้าด้วยกัน จากหุ่นยนต์เดินตามเส้น ไปจนถึงเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมเครื่องจักร ในช่วงที่เรียนมหาวิทยาลัย หลังจากเรียนจบ ภาคภูมิเริ่มต้นอาชีพแรกในฐานะวิศวกร แต่กลับพบว่างานที่ทำยังไม่ตอบโจทย์แพชชั่นของตัวเองที่ยังสนุกกับการสร้างหุ่นยนต์มากกว่า จึงตัดสินใจเรียนต่อด้าน Robotics ที่มหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ที่นั่นเขาได้ลงมือทำหุ่นยนต์ที่ใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่เคยทำ เช่น หุ่นยนต์แมงมุม ที่ใช้ในภารกิจสำรวจสะพาน หรือโครงสร้างเหล็กที่อยู่สูงแทนคนเพื่อช่วยลดความเสี่ยง จากนั้นก็ได้ต่อยอดมาทำงานด้านวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์มาจนถึงตอนนี้ “ญี่ปุ่นมีความพร้อมด้านหุ่นยนต์มาก่อนประเทศเราพอสมควรมีหน่วยงานเข้ามาสนับสนุนทำให้มีความพร้อมทั้งทางด้านอุปกรณ์และองค์ความรู้ต่างๆให้ได้ศึกษาตอนกลับมาไทยก็ได้เข้ามาอยู่ในองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมและมีงบวิจัยพัฒนาเข้ามาเรื่อยๆมีโอกาสได้ทำงานกับคนที่มี Passionคล้ายกันเหมือนเราพกไอเดียมาจากบ้านแล้วได้มาลองค้นหาคำตอบร่วมกันกลายเป็นความสนุกและความท้าทายที่ทำให้รู้สึกต่างจากการทำงานทั่วไป” เขาอธิบาย : โจทย์สุดท้าทาย หนึ่งในหุ่นยนต์ที่สร้างชื่อให้กับ ARV คือ Horrus โดรนสำรวจที่สามารถบินได้แบบอัตโนมัติ เพื่อใช้งานแทนคนในภารกิจที่ท้าทาย และเต็มไปด้วยความเสี่ยง ภาคภูมิบอกว่า ตลาดโดรนเป็นหนึ่งในตลาดที่สามารถตอบโจทย์คนทำงานในธุรกิจ Oil and Gas ได้ดีที่สุด ในอดีตหากต้องการสำรวจปล่องไฟในโรงงานอุตสาหกรรม…

ARV ร่วมนำหุ่นยนต์จัดแสดงในงานประชุมระดับอาเซียน “Future Energy Asia  2022”

งานแสดงเทคโนโลยีและการประชุมด้านพลังงานเพื่ออนาคตแห่งเอเชีย หรือ Future Energy Asia  2022 จัดขึ้นโดย กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ,บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ดีเอ็มจี อีเวนท์ จำกัด ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลังงานผ่านการจัดงาน ฟิวเจอร์ เอนเนอร์ยี เอเชีย (Future Energy Asia) และ ฟิวเจอร์ โมบิลิตี้ เอเชีย (Future Mobility Asia) ประจำปี 2565 การประชุมด้านพลังงานและยานยนต์พลังงานสะอาด และการจัดแสดงนิทรรศการสุดยอดนวัตกรรมระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ …